บริจาค

ข่าวสาร

สังคมน่าอยู่ ‘ทำดี’ ต้อง ‘หวังผล’

‘ทำดี ไม่ต้องหวังผล’ เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆอะไรที่เป็นเรื่องดีๆ ได้ช่วยเหลือคน ช่วยเหลือสังคม คนไทยใจดีพร้อมทุ่มกำลังกาย กำลังใจ กำลังเงิน แต่บางทีความคิดที่ว่า “ทำแล้วสบายใจ” ตามสไตล์ไทยๆ อาจทำให้เราเผลอลืมนึกไปว่า ความตั้งใจดีๆ ที่เรามี ส่งผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมแค่ไหนต่อสังคม



จะดีกว่าไหม? หากเรา “ลงมือทำเพื่อ สังคม..อย่างมีประสิทธิภาพ” คำถามชวนคิดนี้ถูกจุดประกายผ่านงาน “Good Society Expo เทศกาลทำดี หวังผล” งานดีๆ ที่อยากชวนคนไทยยกระดับการทำความดีสู่การลงทุนทางสังคมที่ไม่ได้มีความหมายแค่ “เงินทุน” จัดโดยมูลนิธิเพื่อคนไทย,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,องค์การต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายจากทั้งภาคสังคม ธุรกิจและตลาดทุนกว่า 100 องค์กร



“ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมได้” เป็นแนวคิดที่ วิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย ตัวแทนภาคีภาคสังคมผู้ร่วมจัดงาน เชื่อมั่นและอยากชวนคนไทยเริ่มต้น “ทำในสิ่งที่เราทำได้” โดยไม่จำเป็นต้องรอให้รวยก่อน หรือประสบความสำเร็จก่อนเพราะการลงทุนเพื่อสังคมไม่ได้มีแค่การให้เงินบริจาค แต่ยังสามารถเป็นได้ทั้งทุนมนุษย์ ทุนเครือข่าย ทุนความรู้ ทุนเวลา ฯลฯ



“ปัญหาสังคมเป็นความรับผิดชอบร่วม การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดความร่วมไม้ร่วมมือกันทุกภาคส่วน” วีณา อ่องจริต กรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย กล่าวถึงการจัดงาน Good Society Expo เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรที่ทำงานด้านสังคมในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การศึกษาคนพิการ ต้านทุจริต สิ่งแวดล้อม และสุขภาพพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามความสนใจ นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาคสังคมกับภาคธุรกิจ รวมถึงภาคตลาดทุนที่เข้ามาเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศการลงทุนทางสังคมที่ยั่งยืน ผ่านกลไก “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย”



“ถามว่า ทำดีหวังผล ผลที่ได้คืออะไร? ผลก็คือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในการที่ทุกคนร่วมลงมือทำแก้ปัญหาสังคม โดยเราจะมีการติดตามผลเพื่อกลับมาบอกเล่ากับสังคมอย่างสม่ำเสมอว่า สิ่งที่คุณช่วยร่วมกับภาคีภาคสังคมต่างๆเหล่านี้ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง” วีณา กล่าว



สำหรับวิธีการง่ายๆ ของการช่วยอย่าง “หวังผล” ต่อสังคม หรือ Active Donation สามารถทำได้ไม่ยาก ด้วยการเช็ครายละเอียดของงานที่จะช่วยให้ดี เช่น เช็คแหล่งที่มาว่าเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้ มีผลงานในอดีต มีแผนงานที่ชัดเจนหรือไม่, สิ่งที่เรา “อยากให้”ตรงกับที่เขา “อยากได้” หรือเปล่า, รับผิดชอบต่อสิ่งที่เราช่วย และติดตามผลของงานที่เราไปช่วยเสมอ เพื่อร่วมกันดูแลให้เจ้าของโครงการทำงานให้ได้เกิดผลตามที่ได้รับบริจาคไปแล้ว





เสังคมดี เริ่มที่ “ตัวเรา”



ดีไซน์การศึกษาของประเทศ ผ่านแคมเปญ #Limited EducatioM มูลนิธิยุวพัฒน์ ร่วมกับ GREYHOUND และ 5 องค์กรเพื่อการศึกษา ชวนสังคมร่วมกันสนับสนุนและตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผ่านเสื้อยืดที่มีตัวเดียวในโลกด้วยลายมือจริงของเด็กๆ ที่ยังสะกดคำาแบบผิดๆ สะท้อนปัญหาด้านการอ่านเขียนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทุกวันนี้ มีเด็กชั้น ป.1-6 ราว 270,000 คนเขียนหนังสือไม่ได้ และอีกราว 140,000 คน อ่านหนังสือไม่ออก และมีเด็กกว่า 4.8 ล้านคน เสี่ยงต่อการไม่ได้เรียนหนังสือและหลุดจากระบบการศึกษา



คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยได้ลดความเหลื่อมล้ำได้ ด้วยการช่วยกันแชร์ต่อให้มีคนรู้เรื่องนี้มากขึ้น หรือช่วยกันสนับสนุนเงินบริจาคผ่านเว็บไซต์ limitededucation.org และติดตามการระดมทุนต่อเนื่องเพื่อ “โครงการพัฒนา 100 โรงเรียนเพื่อเยาวชนขาดโอกาส” ได้ผ่านเว็บไซต์ taejai.com



พลัง Active CitizeM เพื่อ ลดคอร์รัปชัน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดรับสมัครอาสาสาสมัครหลากหลายรูปแบบเพื่อให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น อาทิ อาสาผู้สังเกตการณ์อิสระ (Independent Observer :IO) ช่วยสอดส่องการจัดซื้อจัดจ้างโครงการภาครัฐให้มีความโปร่งใส, อาสาสมัครหมาเฝ้าบ้าน สื่อพลเมืองเปิดโปงปัญหาการทุจริตในชุมชน Facebook: Watchdog.ACT, เครือข่ายต่อต้านการทุจริตกับ “สุจริตไทย”เว็บไซต์ thainocorrup.com เป็นต้น



สร้างโอกาสจ้างงานผู้พิการ กับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ประเทศไทยมีคนพิการ 1.7 ล้านคน มีคนพิการ 818,749 คนอยู่ในวัยที่สามารถทำงานได้ แต่ยังมีอีก 526,602 คนที่ไม่มีงานทำ หากคุณ คือ บริษัทที่มีพนักงาน 100 คนขึ้นไป คุณสามารถช่วยได้โดยการจ้างงานคนพิการให้ทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนใกล้บ้านได้ เงินก้อนเดิมที่เคยส่งเข้ากองทุนจะส่งต่อให้เกิดคุณค่าสู่คนพิการโดยตรง นอกจากนี้ ยังสามารถร่วมกันแชร์ข้อมูลให้รู้ว่าคนพิการก็ทำงานได้ ผ่าน Facebook : คนพิการต้องมีงานทำ หรือช่วยสนับสนุนหาคนพิการทำงานในตำแหน่งที่บริษัทต้องการ รวมทั้งสมัครเป็นอาสาสมัครด้านต่างๆ ได้ที่ www.sif.or.th



อาสาหัวใจเขียว ใครที่สนใจอยากสัมผัสประสบการณ์งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภาคสนาม มีกิจกรรมอาสามากมายให้ทำได้ทั้งปี อาทิ ลงพื้นที่เรียนรู้การฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริกับอาสาสมัครโครงการมวลชนพัฒนาฟื้นผืนป่าแผ่นดินอีสานใต้,อาสาปลูกป่าชายเลนกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ที่ “บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ”, อาสาสมัครร่วมปันแรง ปันรู้ ลงพื้นที่กับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, อาสาสมัครเครือข่ายป่าครอบครัวกับ BEDO เป็นต้น



นวัตกรรมทำดี 4.0



อีกหนึ่งความน่าสนใจของงาน Good Society Expo คือ การนำเสนอนวัตกรรมการออกแบบกลไกการเป็นผู้ให้และทำความดีให้กับสังคม โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผ่าน “เครื่องมือส่งเสริมการให้” 6 กลไก 6 รูปแบบที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ว่าจะเป็น กิน เที่ยว ช้อป อาสา ลงทุน และบริจาคออนไลน์



Socialgiver แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้การช็อปและเที่ยวของคุณ ได้ “ช่วยสังคมไปพร้อมกัน” เพียงเข้าไปที่ www.socialgiver.com เพื่อเลือกซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยว พักผ่อนโรงแรม ทานอาหารและเล่นกิจกรรมต่างๆ ในราคาพิเศษจากแบรนด์ชั้นนำ รายได้จากการจำหน่ายห้องพักที่ได้รับการนับสนุนเหล่านี้ เมื่อนำไปขายแล้วจะแบ่ง 70% ไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม และ 30% สนับสนุนแพลตฟอร์มและติดตามผล ที่ผ่านมาช่องทางนี้ สามารถช่วยเหลือโครงการเพื่อสังคมได้แล้ว 26 โครงการ คิดเป็นทุนจำนวน 2.5 ล้านบาท



สังคมน่าอยู่ \’ทำดี\’ ต้อง \’หวังผล\’ thaihealth



เทใจดอทคอม แพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์ เพื่อร่วมกันสนับสนุนโครงการดีๆให้เกิดขึ้นในสังคม ปีที่ผ่านมา สามารถระดมทุนสนับสนุนโครงการจากประชาชนทั่วไป 6.72 ล้านบาท ช่วยเหลือโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ได้ 32 โครงการ และเข้าถึงผู้รับประโยชน์ 1.8 คน มี Active Citizen ที่ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ กับเทใจอย่างต่อเนื่อง 4,000 คน



โครงการร้านปันกัน กิจการเพื่อสังคมดำเนินงานในรูปแบบร้านค้า โดยนำรายได้จากการจำหน่ายสิ่งของที่ได้รับจากการแบ่งปันมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่สังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทุนการศึกษาให้เยาวชนของไทยของมูลนิธิยุวพัฒน์ ปีที่ผ่านมา ปันกันสามารถระดมทุนการศึกษาเป็นจำานวนเงิน 35.4 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่อง 6 ปี ส่งน้องเรียนได้ 848 คน



FOOD FOR GOOD โครงการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารกับประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าของร้าน ให้ได้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาโภชนาการของเด็กและเยาวชนไทยที่ขาดแคลน ด้วยการสั่งเมนูอาหารที่มีสัญลักษณ์ “Food4Good พี่อิ่มท้องน้องอิ่มด้วย”จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเกือบ 100 ร้าน โดยปีที่ผ่านมา สามารถระดมเงินบริจาคจากร้านอาหารที่ร่วมโครงการจำนวน 3.02 ล้านบาท และช่วยเหลือเด็กๆได้ 976 คน



เครือข่ายจิตอาสา พื้นที่สื่อกลางในการเชื่อมโยงกิจกรรมอาสาสมัครทั่วประเทศกับประชาชนที่อยากสนับสนุนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สามารถค้นหางานอาสาสมัครที่สนใจได้ที่ www.volunteerspirit.org โดยในแต่ละปี เครือข่ายจิตอาสาสามารถสร้างโอกาสให้ประชาชนเป็นอาสาสมัคร 500-600 คน



กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND)กลไกการให้ที่ช่วยนำพาให้ “นักลงทุน”ไปช่วยแก้ปัญหาสังคม ผ่านกองทุนที่ได้ทำดีตั้งแต่บาทแรกของเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ซึ่งลงทุนเฉพาะหุ้นของกิจการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม มีบรรษัทภิบาล และต่อต้านคอร์รัปชั่น ตามเกณฑ์ ESCG พร้อมจัดสรร 40% ของค่าบริหารจัดการกองทุน นำไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมในปีที่ผ่านมาแล้ว 32 โครงการ คิดเป็นเงิน 25.5 ล้านบาท



ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการ “ทำดี” และการ “ให้” เพื่อสังคมหลากหลายรูปแบบที่ทุกคนสามารถเลือกเข้ามามีส่วนร่วมได้



ถนัดอย่างไหน ทำอย่างนั้น หากคุณเชื่อว่า เราทุกคน “ลงมือทำ” เพื่อให้สังคมน่าอยู่ได้
อ่านข่าวสารอื่นๆ