บริจาค

ปัญหาทุพโภชนาการ

ในประเทศไทย
มีเด็กกว่า 2.9 ล้านคน

หรือคิดเป็น 1 ใน 3
ของเด็กอายุ 6-14 ปี

มีภาวะทุพโภชนาการ

(กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข 2563)

โดยเฉพาะเด็กในชนบทมีโอกาสขาดสารอาหารมากกว่าเด็กในเมือง (กรมอนามัย, 2558)
ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

(ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2557)
ปิดกั้นอนาคตที่สดใสอย่างที่พวกเขาสมควรได้รับ

1 ใน 10 ของเด็กปฐมวัยไทย

มีภาวะเตี้ยหรืออ้วน

และเมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่วัยเรียนอายุ 6 – 14 ปี
มีแนวโน้มพบภาวะเตี้ยร้อยละ 8.3 ผอมร้อยละ 4.3
และภาวะอ้วนร้อยละ 13.1 (กรมอนามัย 2562)
ซึ่งภาวะเตี้ยและผอมส่งผลให้เรียนรู้ช้า สติปัญญาต่ำ
ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เจ็บป่วยง่าย หายยาก และมีอาการรุนแรง และยังเพิ่มโอกาสในการเป็น
โรคติดต่อเรื้อรังได้ในอนาคต
(ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2557)

แม้ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเพื่อ
สนับสนุนค่าอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนอนุบาล – ประถมศึกษา
หัวละ 20 บาท

หากแต่…ยังมีโรงเรียนอีกจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับปัญหาซับซ้อน

งบประมาณรายหัวไม่ทั่วถึง

ไม่ทั่วถึงนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา
ขยายโอกาสทำให้โรงเรียนต้องนำงบประมาณค่าอาหาร
มาเฉลี่ยให้เด็กนักเรียนทุกคน เฉลี่ยงบประมาณ
ค่าอาหารรายหัวอยู่ราว 9-15 บาทต่อมื้อต่อหัว
งบประมาณค่าขนส่งสูง

เนื่องจากพื้นที่ ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ห่างไกล
ดอยสูง
หรือการเข้าถึงยากลำบาก
ทำให้การนำพาวัตถุดิบขึ้นไปให้ถึงที่หมายนั้น
ต้องอาศัย
การจ้างวานรถในพื้นที่
ปัญหาการจัดเก็บวัตถุดิบ

การจัดเก็บวัตถุดิบอาหารสด ทำได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ
เนื่องจากโรงเรียนไม่มีไฟฟ้า
ปัญหาการจัดการอาหารและโภชนาการ

องค์ความรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ
เพื่อแก้ปัญหาเด็กทุพโภชนาการไม่เพียงพอ
ยิ่งโรงเรียนเล็ก ต้นทุนคงที่ในการประกอบอาหารยิ่งสูง

สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน
ต่ำกว่า 120 คน งบประมาณรายหัวที่ได้
ต้องนำมาเฉลี่ยทั้งค่าวัตถุดิบ เครื่องปรุง
ค่าแก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าแม่ครัว